28 ธ.ค. 2553

โครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เขตลาดกระบัง"


คำนำ

                                ตามที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 46กันตารัติอุทิศ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ดำเนินโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด  สำนักงานเขตลาดกระบัง  เพื่อให้  ประชาชนในชุมชนร่วมใจ
พัฒนาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน,ความดันโลหิตสูง  หรือมีพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทาน
อาหาร  การออกกำลังกายและการจัดการความเครียดที่ไม่ถูกต้อง  จำนวน  40  คน มีการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดบัดนี้โครงการ ฯ ได้ดำเนินการ จัด
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับกลุ่ม ประชาชนชุมชนร่วมใจพัฒนาจำนวน 40    คน  คนละ  5 
ครั้ง  คิดเป็นร้อยละ 100  ของเป้าหมายในโครงการ ซึ่งได้มีการจัดทำรายงานผลกา
บริการรายบุคคล และได้บันทึกข้อมูลผู้รับบริการทั้งหมดลงในโปรแกรม (ระบุชื่อ BPPDS/HospitalOS)
 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร) เรียบร้อยแล้ว 
ศูนย์บริการสาธารณสุข 46  กันตารัติอุทิศ  จึงขอเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการงวดแรก ให้กับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อใช้ในการติดตามความก้าวหน้าโครงการ และพิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการในงวดต่อไป


                                                                                                                        นางปรีดารัตน์    ภูติวรนาถ
                                                                                                                              พยาบาลวิชาชีพ  7  วช.
                                                                                                                               ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
                                                                                                                                        ตุลาคม  2552

วัดความดันโลหิต  ชั่งน้ำหนัก  วัดเอว  สะโพก

                                                                                                                                                                                                      
บทสรุปผลการดำเนินโครงการ
ชื่อ       โครงการ                   ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 
                สำนักงานเขตลาดกระบัง
ชื่อหน่วยงาน                       ศูนย์บริการสาธารณสุข  46  กันตารัติอุทิศ
ระหว่างวันที่                        19  พฤษภาคม  2553  -  14  กรกฎาคม  2553
ชื่อหัวหน้าโครงการ             นางปรีดารัตน์    ภูติวรนาถ

1.วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.       เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อในความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพเพื่อการควบคุมความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
2.       เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร 
การออกกำลังกายจัดการความเครียดด้วยตนเอง  ดูแลและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง
3.       เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นโดยพิจารณาจาก
a.        ค่าดัชนีมวลกาย  (BMI)  ลดลง
b.       เส้นรอบเอวลดลง
c.        ระดับไขมันในเส้นเลือดลดลง
                4.   เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระดับมากขึ้นไป
ชั่งน้ำหนัก  คัดกรองสุขภาพ

เจาะเลือดดูค่าไขมันในเส้นเลือด


ดูค่าความดันโลหิตรอบที่ 2

2. กลุ่มเป้าหมาย


กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมายทั้งหมด  (คน)
ดำเนินการครบตามโปรแกรม  (คน)
ร้อยละที่ได้ดำเนินงานจากเป้าหมาย
หมายเหตุ
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน,ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง,ผู้ที่มีพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร  การออกกำลังกายและการจัดการความเครียดที่ไม่ถูกต้อง
40 คน  /5  ครั้ง
40  คน / 5 ครั้ง
100




3. ลักษณะ/รูปแบบกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ü    จัดที่ห้องประชุมชั้น  2    ศูนย์บริการสาธารณสุข  46  กันตารัติอุทิศ  แบบไป – กลับ ครั้งละ  3  ชั่วโมง
    จำนวน 5 ครั้ง      รวม  15  ชั่วโมง
4. ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม   ตั้งแต่เริ่มจนถึงติดตามประเมินผล ต่อราย รวม  3  เดือน
5. ระยะเวลาดำเนินการโครงการ      19  พฤษภาคม  2553  -  14  กรกฎาคม  2553
6.  งบประมาณที่ได้รับ        45,500.-บาท  
7. ผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย/เกณฑ์
ผลการดำเนินงาน
หมายเหตุ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดีขึ้น
ร้อยละ 80
ร้อยละ
N=40
2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการออกกำลังกายเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่ดีขึ้น
ร้อยละ 80
ร้อยละ
N=40
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีการจัดการความเครียดด้วยตนเองในแนวทางที่ดีขึ้น
ร้อยละ 80
ร้อยละ
N=40
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในแนวทางที่ดีขึ้น
ร้อยละ 80
ร้อยละ
N=40
4. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีการจัดการระดับความดันโลหิตสูงด้วยตนเองในแนวทางที่ดีขึ้น
ร้อยละ 80
ร้อยละ
N=40
5. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม ในระดับดีมาก
ร้อยละ 80
ร้อยละ
N=40
6. ได้แกนนำสุขภาพจากผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน
40 คน


8. ข้อเสนอแนะ
8.1  ควรสนับสนุนให้คนในชุมชนมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ 
8.2  ควรมีที่ปรึกษาทางวิชาการเช่น  คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชต่อไป  และมีงบประมาณสนับสนุนคณะทำงานเช่นเดิม
8.3  ขยายผลโครงการต่อเนื่องในเชิงรุกไปยังกลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง



ทำกิจกรรมกลุ่ม เล่นเกมส์

รายงานผลการดำเนินโครงการ

บทนำ
1.       หลักการและเหตุผล
2.       วัตถุประสงค์
3.       กลุ่มเป้าหมาย
4.       ระยะเวลาดำเนินงาน
5.       งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ
กิจกรรมดำเนินการ

1.       ขั้นตอนการดำเนินงาน
2.       รูปแบบของกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3.       กิจกรรม/โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายงานผลการดำเนินโครงการ
บทนำ
1. หลักการและเหตุผล
                                                            โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตติดอันดับ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตของประชากรโดยเฉพาะประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีสภาพแวดล้อมและวิถีการดำรงชีวิตที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพ  ทำให้ประชาชนมีภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังสอดคล้องกับผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงภาวะสุขภาพของเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตลาดกระบัง ระหว่างเดือนตุลาคม 2552  จากผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 158 คน พบว่าร้อยละ 67.33 มีระดับไขมันในเส้นเลือดเกินเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 65.33 มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน  ร้อยละ 56 มีรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน  ร้อยละ 80 ตรวจพบค่าความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์  และพบว่าร้อย 6.67 ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่ามาตรฐาน จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่เป็นสาเหตุได้แก่ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด  และการลดการสูบบุหรี่ สุรา อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตลาดกระบัง  อีกทั้งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ประหยัดทรัพยากรสาธารณสุขมากกว่าการรักษาที่ต้องใช้เงิน บุคลากรและเทคโนโลยีที่มีราคาแพง
                    ในอดีตที่ผ่านมาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ จะเน้นการให้ความรู้ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องการจึงเป็นที่มาของการพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษา โดยนำกลวิธีเสริมพลัง(Empowerment) มาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งพบว่าได้ผลที่ดีกว่า อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล อันมุ่งเน้นบริการในเชิงรุกและเชิงรับเพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองและครอบครัวและชุมชน ดังนั้นศูนย์บริการสาธารณสุข 46 กันตารัติอุทิศ จึงได้จัดทำโครงการเสริมพลังให้กับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบเสริมพลังพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1.        เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อในความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพเพื่อการควบคุมความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
2.       เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร 
การออกกำลังกายจัดการความเครียดด้วยตนเอง  ดูแลและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง
3.       เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นโดยพิจารณาจาก
a.        ค่าดัชนีมวลกาย  (BMI)  ลดลง
b.       เส้นรอบเอวลดลง
c.        ระดับไขมันในเส้นเลือดลดลง
                4.   เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในระดับมากขึ้นไป

3. กลุ่มเป้าหมาย
                เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตลาดกระบัง ที่มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน  (BMI  มากกว่าหรือเท่ากับ  23),มีเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน,มีระดับไขมันในเลือดเกิน  200  มก./ดล.  หรือมีพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร  การออกกำลังกายและการจัดการความเครียดที่ไม่ถูกต้อง  จำนวน  40  คน

4. ระยะเวลาดำเนินงาน
                19  พฤษภาคม  2553  -  14  กรกฎาคม  2553
5. งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ
                     45,500.-บาท
กิจกรรมดำเนินงาน

1. ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นเตรียมการ
1. วิเคราะห์ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพ  ประเมินสุขภาพ เขียนโครงการ
2. ขอความเห็นชอบผู้บังคับบัญชาและเสนอโครงการต่อมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
3.      แต่งตั้งคณะทำงาน  และถ่ายทอดแผนสู่ผู้ร่วมงาน
4.      ประชุมเตรียมทีมงาน  และประชาสัมพันธ์โครงการ
5.      ผลิตสื่อ  เตรียมอุปกรณ์  เตรียมสถานที่

ขั้นดำเนินการ 
        1.  กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ   40 คน/ครั้ง
        2.  นัดทำกิจกรรมกลุ่มทุกวันพุธ  เวลา 09.00-12.00 น.     จัดกิจกรรมกลุ่มละ  5  ครั้ง   ครั้งละ 3 ชั่วโมง 
             รวม 15 ชั่วโมง
        3.  สรุปผลโครงการ

2. รูปแบบของกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
         รูปแบบของกิจกรรมจัดเป็นโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบไป-กลับโดยจัดที่ห้องประชุมชั้น  2    ห้องประชุมศูนย์บริการสาธารณสุข  46  กันตารัติอุทิศ  กลุ่มเป้าหมาย 1 กลุ่ม  จำนวน 40  คน จัดกิจกรรมกลุ่มละ 5 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งจะมีระยะเวลาห่างกัน 1-2  สัปดาห์

3. กิจกรรม/โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ผลการดำเนินงาน
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมโครงการ

   ข้อมูลทั่วไป                     
จำนวน
ร้อยละ
เพศ


       ชาย
15
37.50
       หญิง
25
62.50
       รวม
40
100
อายุ


       น้อยกว่า 40 ปี
12
30.00
       40-49  ปี
23
57.50
       50-59  ปี
5
12.50
       รวม





สิทธิการรักษาพยาบาล


        บัตรทองในเขต กทม.
2
5.00
        ปกส.
16
40.00
        ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ  และครอบครัว
12
30.00
         อื่นๆระบุ...(บัตร อสส.)
10
25.00
         รวม
40
100
ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย


       ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
40
100
       รวม
40
100
ปัจจัยเสี่ยงที่พบ (N หรือผู้ร่วมโครงการทั้งหมด=100)


        เบาหวาน/น้ำตาลในเลือดสูง
0
0
        ความดันโลหิตสูง
15
37.50
        ไขมันสูง
0
0
        อ้วน/BMI เกิน/รอบเอวเกิน
8
20.00
        ขาดการออกกำลังกาย
40
100
        พันธุกรรม
0
0

จากข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วมโครงการ  พบว่า  มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด  40 คน เป็นผู้ชาย  15
ผู้หญิง 25 คน   อายุ50-59ปี มีจำนวน 5 คน  และอายุ  40-49 ปี มีจำนวน 23 คน  อายุน้อยกว่า  40  ปี  มี
จำนวน  12  คน    ผู้เข้าร่วมโครงการมีบัตรทองในเขต กทม.  2   คน   สิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ  และ
ครอบครัว 12 คน  บัตรอื่นๆมีจำนวน 10  คน  และมีสิทธิ์ประกันสังคมมีจำนวน  16  คน ซึ่งสามาร
จำแนกตามปัจจัยเสี่ยงได้ดังต่อไปนี้ คือ  เป็นผู้ป่วยเบาหวานหรือมีน้ำตาลในเลือดสูง  0 คน  มีความดัน
โลหิตสูง 15 คน   มีไขมันในเลือดสูง 0 คน  มีดัชนีมวลกายเกินหรืออ้วน 8 คน ขาดการออกกำลังกาย
40 คน  และมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม 0 คน จะเห็นได้ว่าคนหนึ่งคนมีหลายปัจจัยเสี่ยง ซึ่งจะเป็น
ปัจจัยนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากกว่าบุคคลทั่วไป

2. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลผลิตและผลลัพธ์
2.1 ตัวชี้วัดผลผลิตที่ 1 คือ จำนวนผู้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เป้าหมาย จำนวน 40 คน
ผลการดำเนินงาน  จำนวนผู้เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 40 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของเป้าหมาย 

กำลังตั้งใจฟังกิจกรรม
2.2    ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่  2  กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  ที่เข้าร่วมโครงการ  มีความเชื่อ
ว่าตนเองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องได้มีทักษะและตัดสินใจใช้ทางเลือกที่
เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม  เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง  และนำไปสู่การมี
สุขภาพดีขึ้น  เป้าหมาย  ร้อยละ  80  

ผู้ชนะเลิศในการเล่นเกมส์
ผลการดำเนินงาน  ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีพฤติกรรมการกินที่ดีขึ้นร้อยละ  87.50
การคำนวณ  :  จำนวนคนที่มีค่าเปลี่ยนแปลงทางบวกหลังร่วมกิจกรรม  หารด้วยจำนวนคนทั้งหมด 100
-  ร้อยละ  87.50  ของผู้เข้าร่วมโครงการบอกว่าสามารถลดในเรื่องของการรับประทานอาหารที่มีไขมัน
สูงและเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำหรือไม่มีคลอเรสเตอรอล  นั่นหมายความว่า  ผู้เข้า
ร่วมโครงการสามารถจัดการปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น  จากการสอบถามถึงวิธีการส่วนใหญ่บอกว่า  มีพันธะ
สัญญาให้กับตัวเองและตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้สุขภาพร่างกายของตัวเองดีขึ้น
2.3 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 3 คือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องของความเครียด  โดย
มีเป้าหมายให้ประชาชนในชุมชนมีความเสี่ยงในเรื่องของความเครียดลดลง เป้าหมาย ร้อยละ  80
ผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องของความเครียด  มีค่าความเครียด
 ลดลง ร้อยละ 75การคำนวณ: จำนวนคนที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องของความเครียด  ที่มีค่าเปลี่ยนแปลง
ทางลบ/ลดลง หลังร่วมกิจกรรม  หารด้วยจำนวนคนที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องของความเครียดทั้งหมด
ตั้งแต่เริ่มกิจกรรม  x 100
-  ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน  มีค่าความเสี่ยงสูงในเรื่องของความเครียด  ดังนี้
ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความเสี่ยงสูงในเรื่องของความเครียดสามารถปฏิบัติโดยการนอนพักผ่อนให้เพียง
พอและหมั่นสวดมนต์ไหว้พระให้บ่อยขึ้นทำให้ความเครียดลดลง  คิดเป็นร้อยละ  75  ส่วนผู้เข้าร่วม
โครงการอีกกลุ่มหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติได้เนื่องจากผลกระทบหลายอย่างจึงทำให้มีค่าความเสี่ยงสูงใน
เรื่องของความเครียด  คิดเป็นร้อยละ  25
2.4 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 4 คือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่ารอบเอว   ลดลงเป้าหมาย ร้อยละ 80
ผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมโครงการมีค่ารอบเอวลดลง   ร้อยละ  87.50
การคำนวณ: จำนวนคนที่มีค่า รอบเอว ที่มีค่าเปลี่ยนแปลงทางลบ/ลดลง หลังร่วมกิจกรรม   
หารด้วยจำนวนคนที่มีค่า รอบเอว  ตั้งแต่เริ่มกิจกรรม  x 100
-  ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน แต่ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีจำนวน 0  คนมีผลของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
   ผู้เข้าร่วมโครงการที่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารที่มีไขมันและความหวานสูงสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงคิดเป็นร้อยละ 87.50  และผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารหรือยังคงรับประทานอาหารที่มีไขมันและความหวานสูงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 12.50  ของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจำนวน 0  คน

2.5 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 5 คือร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าความดันโลหิตสูง   ลดลงเป้าหมาย ร้อยละ 80
ผลการดำเนินงาน  ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าความดันโลหิตสูงลดลง   ร้อยละ  87.50การคำนวณ: จำนวนคนที่มีค่าความดันโลหิตสูงที่มีค่าเปลี่ยนแปลงทางลบ/ลดลง หลังร่วมกิจกรรมหารด้วยจำนวนคนที่มีค่าความดันโลหิตสูง  ตั้งแต่เริ่มกิจกรรม  x 100
-  ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน แต่ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความดันโลหิตสูงมีจำนวน 15  คน
 มีผลของการควบคุมระดับความดันโลหิตสูง

   ผู้เข้าร่วมโครงการที่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารที่มีไขมันและอาหารที่มีรสชาดเค็มสามารถทำให้ระดับความดันโลหิตสูงลดลงคิดเป็นร้อยละ 87.50  และผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารหรือยังคงรับประทานอาหารที่มีไขมันและอาหารที่มีรสชาดเค็มทำให้ระดับความดันในเลือดสูงเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 13.50  ของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจำนวน 15  คน

ผลประเมินเชิงคุณภาพ
จากการสังเกตพบว่า
                1.  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมและนำหลักการในโครงการไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                2.  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสุขมากขึ้นกับกิจกรรมที่เราจัดขึ้นทุกครั้งและให้ความร่วมมือเป็น
อย่างดี
การสัมภาษณ์อื่นๆ
                1.  ผู้เข้าร่วมโครงการบอกว่าพอใจมากกับโครงการนี้  เพราะกิจกรรมทำให้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองมากขึ้น

วิทยากรกำลังนำเล่นเกมส์
บทเรียนและข้อเสนอแนะ

1. ปัจจัยที่ทำให้โครงการสำเร็จ
                1.  วิสัยทัศน์  และกำลังใจของผู้บริหาร
                2.  ความสามัคคีของคณะทำงาน  เป้าหมายของโครงการชัดเจน  ทำให้เกิดการเสริมพลังในส่วนที่ด้อยกว่า
                3.  การประชาสัมพันธ์โครงการเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
                4.  องค์ความรู้และแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมพลังสุขภาพจากหน่วยงานทางการศึกษา 
                5.  มีวิทยากรที่ให้ความรู้หลายด้านและหลากหลายเพื่อให้เกิดความสนใจในโครงการ
2.ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
                ปัญหาอุปสรรค  ผู้ปฏิบัติขาดประสบการณ์ในการทำกลุ่มบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  จึงต้องศึกษา  ค้นคว้า  ทฤษฎี   และกลวิธีต่างๆเพิ่มเติม
ภาพโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขตลาดกระบัง



วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับสุขภาพจิต